ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์

   รองนายกฯ "ฉัตรชัย" เปิดเวทีขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ที่ มจร.ขอนแก่น สุดคึกคัก ทุกหน่วยงานขานรับการขับเคลื่อนสุขภาวะพระสงฆ์สู่รูปธรรม ประสานพลัง “๑ วัด ๑ โรงพยาบาล/รพ.สต.” และ “พลังบวร บ้าน วัด โรงเรียน” นำสถาบันสงฆ์กลับมาเป็นเสาหลักของสังคมไทย ตั้งเป้าในปีนี้พื้นที่อีสานก่อนขยายสู่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ

   เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๑ หน่วยงานภาคีขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ทั้งฝ่ายสงฆ์และฆราวาส ร่วมกันจัดเวที “เปิดตัวการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติสู่พื้นที่” ณ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) วิทยาเขตขอนแก่น

   พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เปิดเผยว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพพระสงฆ์เป็นอย่างมาก โดยเร่งรัดการขับเคลื่อน “ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พ.ศ.๒๕๖๐” ซึ่งเป็นกรอบและแนวทางสร้างสุขภาวะให้กับพระสงฆ์ทั่วประเทศกว่า ๓ แสนรูปในทุกด้าน เพื่อฟื้นคืนบทบาทสถาบันทางศาสนาให้เป็นเสาหลักในการดูแลสุขภาพสงฆ์ด้วยกันเอง ประชาชน ชุมชน และสังคมไทย

   ทั้งนี้ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ได้มอบนโยบายในที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๑ ให้สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เป็นแกนประสานนำนโยบายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันขับเคลื่อนธรรมนูญพระสงฆ์สู่การปฏิบัติให้เห็นผลเป็นรูปธรรม โดยให้นำ ๒ โครงการสำคัญ ได้แก่ “๑ วัด ๑ โรงพยาบาล/รพ.สต.” ซึ่งเป็นการจับคู่การดูแลสุขภาพพระสงฆ์กับสถานบริการสุขภาพ อย่างน้อยโรงพยาบาล/รพ.สต.ละหนึ่งวัด ที่กระทรวงสาธารณสุขเริ่มดำเนินการแล้วตั้งแต่วันวิสาขบูชาที่ผ่านมา และ “โครงการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมพลัง บวร (บ้าน วัด โรงเรียน)” ที่กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ได้รับนโยบายของรัฐบาล โดยกำหนดให้วัด/ศาสนสถาน บ้าน (ชุมชน) และโรงเรียน พลังประชารัฐ เป็นกลไกขับเคลื่อนการดำเนินงานจากการมีส่วนร่วม ความเสียสละของคนในชุมชน และการบูรณาการความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่

   “วันนี้ผมได้มอบให้หน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เร่งนำธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติฉบับแรกไปขับเคลื่อนให้เกิดรูปธรรมความสำเร็จ โดยมุ่งขยายสู่ทั่วประเทศ เริ่มจากเป้าหมายการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงห์แห่งชาติสู่พื้นที่ในระยะสั้น ๒ เดือนนี้ คือ ภายในเดือนกันยายน ๒๕๖๑ เราจะมีวัดต้นแบบ ๑ วัด ๑ รพ./รพ.สต. ที่ดำเนินการให้ได้ผลรูปธรรม ๒๐ วัดโดยเริ่มจากพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือนี้ก่อน จากนั้นเป้าหมายระยะสั้น ๕ เดือน คือถึงธันวาคม ๒๕๖๑ จะเริ่มขยายไปในภาคอื่นๆ โดยจะเพิ่มวัดต้นแบบ ๑ วัด ๑ รพ./รพ.สต. ให้ได้อย่างน้อย ๕๐ วัด และปี ๒๕๖๒ ตั้งเป้าหมายขยายผลให้ได้วัดต้นแบบทั่วประเทศไม่น้อยกว่า ๕,๐๐๐ วัด ซึ่งต้องอาศัยความเมตตาของคณะสงฆ์ในการมอบหมายงานผ่านกลไกปกครองสงฆ์ทุกระดับด้วย”

   พระพรหมวชิรญาณ (ปสฤทธ์ เขมงฺกโร) ประธานกรรมการฝ่ายสงฆ์ ของคณะกรรมการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพระสงฆ์แห่งชาติ กล่าวว่า มหาเถรสมาคมได้รับทราบและสนับสนุนการดำเนินงานของธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติที่ประกาศใช้ไปเมื่อ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๐ ผ่านคณะกรรมการฝ่ายสาธารณะสงเคราะห์ ซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิรูปกิจการคณะสงฆ์ โดยการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์นั้นจะยึดหลัก “ธรรมนำโลก” เพื่อมุ่งสู่ ๓ เป้าหมายสำคัญคือ ๑.พระสงฆ์ต้องดูแลสุขภาพกันเองได้ ๒.ชุมชนและสังคมร่วมกันดูแลสุขภาพพระสงฆ์ และ ๓. พระสงฆ์มีบทบาทในการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนได้เช่นที่เคยเป็นมา

   นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา ประธานกรรมการฝ่ายฆราวาส ของคณะกรรมการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ กล่าวว่า นับว่าธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติสอดคล้องอย่างยิ่งกับนโยบายของรัฐบาลซึ่งให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งพระพุทธศาสนา นับเป็นส่วนหนึ่งการปฏิรูปสังคมและยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี อีกทั้งยังเป็นแนวทางและมาตรการที่มุ่งส่งเสริมดูแลสุขภาพพระสงฆ์ ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือและการรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายทั้งคณะสงฆ์และฆราวาส ขณะนี้ทุกภาคส่วนตื่นตัวมากที่จะขับเคลื่อนธรรมนูญฯ เกิดผลในทางปฏิบัติ แต่สิ่งสำคัญคือการดำเนินงานตามโดยใช้การบูรณาการของหลายฝ่าย ซึ่งเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ คณะกรรมการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ ที่มีพระพรหมวชิรญาน เจ้าอาวาสวัดยานนาวา ประธานฝ่ายสาธารณะสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม เป็นประธาน ได้มีมติให้ทำแผนปฏิบัติการและแนวทางขับเคลื่อนในประเด็นหลัก ได้แก่ การจัดการระบบฐานข้อมูลพระสงฆ์ การจัดให้มีพระคิลานุปัฎฐากประจำวัด การดำเนินงานวัดส่งเสริมสุขภาพ การถวายความรู้พระสงฆ์และการสื่อสารสาธารณะ และการขับเคลื่อนธรรมนูญพระสงฆ์ในระดับพื้นที่

   นพ.พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พ.ศ.๒๕๖๐ เกิดขึ้นจากมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง “พระสงฆ์กับสุขภาวะ” เมื่อปี ๒๕๕๕ และขับเคลื่อนจนเกิดผลสำเร็จเป็นธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ฉบับแรกของประเทศไทย ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๑ รองนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ สช. เป็นหน่วยงานกลางประสานการทำงาน โดยนำเอาโครงการ ๑ วัด ๑ โรงพยาบาล/ ๑ รพ.สต. และโครงการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมโดยพลังบวร (บ้าน วัด โรงเรียน) บูรณาการเข้ากับแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ โดยใช้พื้นที่เป้าหมายการจับคู่ ๑ วัด ๑ โรงพยาบาล/ ๑ รพ.สต. เป็นพื้นที่ร่วม ดำเนินกิจกรรม ๕ ประการสำคัญ ได้แก่ ๑.การจัดทำระบบฐานข้อมูลพระสงฆ์และวัด ๒.การอบรมพระคิลานุปัฏฐากประจำวัด ๓.วัดส่งเสริมสุขภาพ ๔.การถวายชุดความรู้แก่พระสงฆ์และเผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไป ๕.การสนับสนุนบทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาชุมชนคุณธรรมโดยพลังบวร สำหรับ สช. จะหนุนเสริมการขับเคลื่อนงานสู่พื้นที่ผ่าน
มีผู้เข้าชมแล้วจำนวน : 391 ครั้ง