ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ กาฬสินธุ์

109 หมู่ที่ 10 บ้านหัวแฮด ตำบลธัญญา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ 46130

ก่อตั้งโดยนายเฉลิมศักดิ์ ถนอมสิทธิ์ ที่อยู่ 109 หมู่ที่ 10 บ้านหัวแฮด ตำบลธัญญา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ 46130

จุดเด่นของศูนย์

   การทำนาแบบกสิกรรมธรรมชาติ การทำนาอินทรีย์ย์ การผลิตผักอินทรีย์ย์ การผลิตปุ๋ยชีวภาพ การเพาะเห็ด การเผาถ่านคาร์บอน การทำไบโอดีเชล
   ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติกาสินธุ์ จำนวนพื้นที่ของศูนย์ฯ 16 ไร่ ประเภทกิจกรรมทางการเกษตร : เกษตรผสมผสาน ประวัติการก่อตั้งและความเป็นมาของศูนย์ฯ ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติกาสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์เกิดจากรวมตัวกันของเกษตรกรกลุ่มหนึ่ง ที่เคยเข้าร่วมโครงการกับภาครัฐ เช่น โครงการ คปร. โครงการฟื้นฟูการเกษตร โครงการเกษตรผสมผสาน เป็นต้น เกษตรกรที่มารวมตัวกันมีทั้งเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ และเกษตรกรที่ไม่ประสบความสำเร็จ ในการดำเนินกิจกรรมมีการจัดเวทีในการหาทางออกของปัญหา และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในชุมชน

กรกฎาคม 2561

หลักสูตรที่จัดอบรม

   ชื่อหลักสูตร "การพัฒนากสิกรรมธรรมชาติสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง" ประกอบด้วย หลักการ/ปรัชญา/แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การจัดการที่ดินตามแนวทฤษฎีใหม่ หลักกสิกรรมธรรมชาติการผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพ ปุ๋ยหมักแห้ง ฮอร์โมนพืช จุลินทรีย์ลูกระเบิด น้ำหมักย่อยสลายฟางข้าวสมุนไพรป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช การผลิตผักอินทรีย์ย์การผลิตอาหารหมู เป็ด ไก่ ใช้เอง การขยายพันธุ์พืช การเพาะเห็ดนางฟ้า การเผาถ่าน การเก็บน้ำส้มควันไม้ผลิตภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือน การแปรรูปผลผลิต การทำบัญชีครัวเรือน การจัดทำแผนชีวิต

ความพร้อมของศูนย์

   ความพร้อมของศูนย์ฯ โครงสร้างพื้นฐาน ถนนทางเข้าเป็นทางลาดยาง การเดินทางสะดวก มีแหล่งน้ำ อุปโภค-บริโภคจากน้ำบาดาลของศูนย์ฯ มีไฟฟ้าเข้าถึง มีห้องสำหรับฝึกอบรม สามารถรองรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ประมาณ 100-150 คน ที่พักแยกเป็นที่พักชายลักษณะเป็นกระท่อม ขนาดใหญ่ จำนวน 3 หลัง รองรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ประมาณ 50 คน ที่พักหญิงเป็นลักษณะโรงนอน รองรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ประมาณ 60-80 คน ห้องน้ำ แยกเป็นห้องน้ำชาย จำนวน 5 ห้อง ห้องน้ำหญิง จำนวน 8 ห้อง ลักษณะโรงอาหารมุงหลังคาด้วยสังกะสี พื้นปูน ใช้โต๊ะยาวต่อเรียงกัน มีเก้าอี้นั่งรับประทานอาหาร สื่อ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรม ประกอบด้วย กระดานไวท์บอร์ด ทีวีเครื่องเล่น VCD ไมโครโฟน เครื่องเสียง กระดานฟลิปชาร์ท โดยมีวิทยากร จำนวน 6 คน
   ความสำเร็จของศูนย์กสิกรรมธรรมชาติกาสินธุ์ มาจากความสามัคคีของกลุ่ม ความสามัคคีของหมู่คณะเป็นหลักประกันความมั่นคงของชุมชนและสังคม เป็นหลักประกันความสำเร็จของงานที่ทำ การรวมตัวของชุมชนไม่ได้มีในทุกพื้นที่ แต่ถ้าหากทำได้ดังเช่นศูนย์กสิกรรมธรรมชาติกาสินธ์แล้ว ก็จะประสบความสำเร็จในการทำงานเป็นอย่างดี จึงเป็นประจักษ์ชัดว่า ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติกาสินธ์นั้น ประสบความสำเร็จในการจัดกิจกรรมที่หลากหลายได้ก็เพราะมีความสามัคคี อีกทั้งมีอุดมการณ์ที่ชัดเจนและสามารถปฏิบัติตามได้นั่นเอง