ก่อตั้งโดยนายถนอม เหล็กศรี ที่อยู่ 64 หมู่ที่ 2 บ้านหนองทัพไทย ตำบลหนองทัพไทย อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด 45140
ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านนายถนอม เหล็กศรี จำนวนพื้นที่ของศูนย์ฯ 7 ไร่ ประเภทกิจกรรมทางการเกษตร : เกษตรทฤษฎีใหม่
การเพาะพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย การเพาะพันธุ์กบ การแปรรูปปลาดุก (น้ำพริก ปลาดุก) การเลี้ยงไก่บ้านและไก่พันธุ์ไข่ การปลูกพืชผัก การทำไร่นาสวนผสม ตามหลักทฤษฎีใหม่ การทำน้ำยาอเนกประสงค์ การเพาะเห็ด และการเผาถ่าน น้ำส้มควันไม้ รางวัลเชิดชูเกียรติที่เคยได้รับ เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติสาขาอาชีพไร่นาสวนผสม กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ปี 2554 เกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพไร่นาสวนผสมระดับเขต กรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2553 เกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพไร่นาสวนผสม ระดับจังหวัด กรมส่งเสริม การเกษตร ปี 2553 เกษตรกรดีเด่นเป็นผู้ดำเนินการแปลงไร่นาสวนผสม จังหวัดร้อยเอ็ด ปี 2545
หลักสูตรที่จัดฝึกอบรม ชื่อหลักสูตร "เกษตรพอเพียงตามแนวทฤษฎีใหม่" ประกอบด้วย การใช้ ธรรมะกับการปรับทัศนคติและพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชน การทำบัญชีครัวเรือน รับ-จ่าย การผลิตน้ำยาสมุนไพร การเพาะเห็ดและการตลาด การเลี้ยงสัตว์และ การป้องกันโรคระบาด การเพาะขยายพันธุ์กบและปลาดุก/การผสมอาหารปลา และกบ จากวัสดุในท้องถิ่น การทำเตาพลังงานทดแทน การขยายพันธุ์พืชและการปลูกป่าในชุมชน การผลิตน้ำยาอเนกประสงค์/น้ำยาล้างจาน การแปรรูป ผลผลิตและเพิ่มมูลค่าทางการเกษตร การจัดทำแผนการใช้ที่ดินและน้ำตามแนว ทฤษฎีใหม่ การทำนาอินทรีย์ย์ การปลูกพืชพลังงานทดแทน ผักปลอดสารพิษ การหัตถกรรมจากวัสดุในท้องถิ่น เป็นต้น ความพร้อมของศูนย์ฯ ศูนย์ฯ มีอาคารฝึกอบรมและที่พักสามารถรองรับเกษตรกรผู้เข้ารับการฝึก อบรมได้ประมาณ 100 คน มีห้องน้ำเพียงพอ มีฐานเรียนรู้และแปลงสาธิตที่เหมาะสม ตามหลักสูตรการฝึกอบรม โดยมีวิทยากร จำนวน 3 คน
จากที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่าคุณถนอม เหล็กสี มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างความเจริญให้เกิดกับตนเองสังคมชุมชนอย่างดี ตามหลักพุทธศาสนาเรียกว่ามี วุฑฒิธรรม คือ ธรรมเป็นเครื่องเจริญ 4 อย่างคือ
1) รู้จักคบหา เข้าหา ไต่ถาม สนทนากับผู้ที่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยความใฝ่รู้ใคร่รู้ (สัปปุริสสังเสวะ)
2) เมื่อได้พบผู้รู้แล้วคุณถนอมยังตั้งใจฟังคำสอนของผู้อื่นด้วยความเคารพ (สัธธัมมัสสวนะ)
3) หลังจากนั้นได้นำสิ่งที่ได้ฟังได้รับรู้มานั้นมาพิจารณาไตร่ตรองอย่างละเอียด รอบคอบ (โยนิโสมนสิการ)
4) การลงมือปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้รู้ จนประสบความสำเร็จ กลายเป็นศูนย์เรียนรู้ที่ใครๆ ก็ให้ความสนใจ (ธัมมนานุธัมมปฏิบัติ)