ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านบุญ

71 หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยยาง อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น 40170

   นายบุญถม ทาปุ๋ย เป็นผู้ก่อตั้งศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านบุญ อยู่ที่ 71 หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยยาง อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น 40170

ความเป็นมาของศูนย์ฯ

    นายบุญถม ทาปุ๋ย เดิมทำเกษตรเชิงเดี่ยว แต่ประสบปัญหามีหนี้สิน จึงได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมที่ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ในปี 2549 จึงเปลี่ยนแนวคิดมาทำไม้สวนเป็นหลักและปลูกแซมด้วยไม้ยืนต้น ทำกิจกรรมหลากหลาย เพื่อให้เกิดรายได้และได้นำความรู้จากการไปเรียนรู้ดูงาน มาปฏิบัติจริงในพื้นที่และประสบความสำเร็จจากการทำการเกษตรแบบผสมผสาน ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ให้ผู้สนใจ และเป็นวิทยากรบรรยาย ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ

จุดเด่นของศูนย์

    ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านบุญ มีจำนวนพื้นที่ของศูนย์ฯ 16 ไร่ ทำเกษตรผสมผสาน ปลูกข้าว เลี้ยงปลา เลี้ยงสัตว์ สวนไม้ผล และการอนุรักษ์ป่าไม้ ส่งเสริมการทำเกษตรปลอดสารพิษ การลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน การทำที่พักเป็นบ้านดินสำหรับผู้เข้าอบรม การจัดสรรพื้นที่ตามหลัก โคก หนอง นา โมเดล

กรกฎาคม 2561

หลักสูตรที่จัดอบรม

    ชื่อหลักสูตร “การพัฒนาเกษตรกร ด้วยหลักกสิกรรมธรรมชาติสู่แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง” ประกอบด้วย การปรับแนวคิดสร้างแรงศรัทธาและพลังใจ ในการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง การทำเกษตรแบบพึ่งพาธรรมชาติ ทำให้เกิดความยั่งยืนในชีวิต การปลูกป่า 5 ระดับ การเรียนรู้การผลิตปุ๋ย การบำรุง รักษาดิน การทำผลิตภัณฑ์ด้านสมุนไพร คนรักษ์สุขภาพ การผลิตน้ำยาล้างจาน สบู่ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เรียนรู้เรื่องป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง และการทำนาแบบประณีต

ความพร้อมของศูนย์

   ศูนย์ฯ มีอาคารฝึกอบรม สามารถรองรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ 100–120 คน เรือนนอนชาย จำนวน 2 หลัง เรือนนอนหญิง 1 หลัง ห้องน้ำ จำนวน 8 ห้อง มีโรงอาหารรองรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ 100 คน มีสถานที่สำหรับจัดกิจกรรม สำหรับการฝึกอบรม ร้านค้าสวัสดิการ มีโสตทัศนูปกรณ์และวัสดุสำนักงาน ที่เพียงพอสำหรับผู้เข้ารับการอบรม มีฐานการเรียนรู้ภายในศูนย์ฯ โดยมีวิทยากร จำนวน 7 คน

   จากการศึกษาการดำเนินชีวิตของคุณบุญถม ทาปุ๋ย จะเห็นได้ว่าท่านทำทุกอย่างเริ่มต้นจากความขยันหมั่นเพียร (อุฏฐานสัมปทา) สร้างความพอใจให้เกิดขึ้นในการประกอบอาชีพของตนเอง (ปลูกฝังศรัทธา) มีความเพียรพยามยามไม่ท้อถอย  เอาใจใส่ผูกพันอยู่กับงานที่ทำไม่เบื่อหน่าย
   ดังนั้น จึงถือว่า  ท่านเข้าใจในหลักธรรมของพุทธศาสนาคือ การปฏิบัติธรรมคือการทำงานทุกอย่างให้สมบูรณ์นั่นเอง