อันเชิญพระลับ

   วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๕ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ร่วมพิธีอันเชิญพระศรีสัตนาคนหุต (หลวงพ่อพระลับ) องค์จริง
   การอัญเชิญหลวงพ่อพระลับมาประดิฐษฐาน ตามคติความเชื่อในการสร้างบ้านแปงเมืองจะต้องมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวเมือง ในครั้งนั้นจึงได้อัญเชิญหลวงพ่อพระลับมาเพื่อเคารพสักการะเป็นมิ่งมงคล ณ บ้านบึงบอนสืบมา และเป็นพระพุทธรูปประจำเมืองขอนแก่นในปัจจุบัน
   เมื่อถึงเดือน 5 จึงอัญเชิญอัญชิญพระศรีสัตนาคนหุต (หลวงพ่อพระลับ) แห่เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ฮดสงด้วยน้ำอบน้ำหอม ถวายตันดอกไม้เป็นพุทธบูชาตามฮีตเดือน 5 บุญสงกรานต์ เพื่อสิริมงคล ชำระโรคภัยสิ่งอันไม่เป็นมงคล นธรรมเนียมดั้งเดิมเมื่ออัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญลงหอโฮงฮดสงแล้ว จะมีการบายศรีพระพุทธรูป ขอสมมาคาระพระรัตนตรัย เพื่อความเป็นสิริมงคล สืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยืนยาว และถวายบายศรี ต้นดอกไม้ แสดงความรัทธาสักการะจากเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ ในเขตลุ่มน้ำโขง เพื่อเป็นพุทธบูชา
   ขบวนแห่ "อัญเชิญพระศรีสัตนาคนหุต" (หลวงพ่อพระลับ) ในรูปแบบขบวนวัฒนธรรมชาติพันธุ์พื้นถิ่นเมืองขอนแก่นและประเพณีพีธีกรรมแบบดั้งเดิม "แห่น้ำสมมา บายศรีพระเจ้า เผ่าพันธุ์ลุ่มน้ำโขง" จึงเป็นแนวคิดหลักสำหรับการสร้างสรรค์ขบวนแหในครั้งนี้
   ขบวนแห่ "อัญเชิญพระศรีสัตนาคนหุต" (หลวงพ่อพระลับ) ได้แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ความเชื่อเรื่องพุทธานุภาพในพุทธบารมีพระคู่บ้านคู่เมือง ที่ควรแก่การสักการะไหวัพลีตามกาล และการบายศรีพระเจ้า ขอสมมาคาระพระรัตนตรัย ให้เกิดศิริมงคลขวัญ กำลังใจ ในยามวิกฤต ที่เราได้เผชิญเหตุการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 และช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ปีใหม่ ด้วยสามัคคี ความร่วมมือร่วมใจ และขวัญกำลังใจ ที่จะทำให้ผ่านพ้นไปด้วยกัน ยิ่งเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างมาก
การอัญเชิญพระศรีสัตนาคนหุต (หลวงพ่อพระลับ) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองขอนแก่น เพื่อเป็นศิริมงคลในประเพณีบุญสงกรานต์ ก้าวเข้าสูปีใหม่นี้ จึงเป็นโอกาสอันดี อันควรอย่างยิ่ง
โดยมีองค์ประกอบขบวนย่อยดังนี้
๑. ดุริยะเสพงัน: เป็นขบวนเครื่องตนตรีประโคมแห่ ประกอบการฟ้อน
๒. แห่น้ำสมมา บายศรีพระเจ้า เผ่าพันธุ์ลุ่มน้ำโขง: เป็นขบวนแห่จำลอง วัฒนธรรมการแห่ในบุญเดือนห้าตั้งเดิมแสดงลักษณะวัฒธรรมการแต่งกายของชาติพันธุ์ลุ่มน้ำโขง และขาวขอนแก่นดั้งเดิม ขบวนบายศรีแบบพื้นเมืองและขบวนแห่น้ำหว้านหอมฮดสงพระศรีสัตนาคนหุต (หลวงพ่อพระลับ)
๓. ศรัทธาพระศรีสัตนาคนหุต: เป็นขบวนเชิญพระศรีสัตนาคนหุต (หลวงพ่อพระลับ) ในหอผาสาทแทงหยวกแบบดั้งเดิม บนเกวียนประดับตกแต่งด้วยดอกไม้ใบตองเครื่องสด เพื่อแห่รอบเมืองให้เกิดศิริมงคล โดยมีผู้บริหาร คณะศรัทธา และประชาชนชาวขอนแก่น เชิญเครื่องบูชาสักการะเข้าร่วมขบวน


มีผู้เข้าชมแล้วจำนวน : 149 ครั้ง