Page 17 - คู่มือนิสิต ปีการศึกษา 2563
P. 17

6  | คู่มือนิสิตระดับปริญญาตรี วิทยาลัยสงฆ์ขอนแก่น
                  ๖                                                                   คู่มือนิสิตระดับปริญญาตรี วิทยาลัยสงฆ์ขอนแก่น


                            ต่อมาพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทัตตมหาเถร) อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ได้จัดประชุม
                  พระมหาเถระฝ่ายมหานิกาย จ านวน ๕๗ รูป เมื่อวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๐ และประกาศให้มหาจุฬาลง
                  กรณราชวิทยาลัย ด าเนินการจัดการศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงในระดับมหาวิทยาลัย
                  เปิดสอนระดับปริญญาตรี คณะพุทธศาสตร์เป็นคณะแรก เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ จากนั้น พ.ศ.
                  ๒๕๐๐ ได้มีการปรับเปลี่ยนระบบการวัดผลมาเป็นระบบหน่วยกิต ก าหนดให้นิสิตต้องศึกษา
                  อย่างน้อย ๑๒๖ หน่วยกิต และปฏิบัติศาสนกิจ ๑ ปี ก่อนขออนุมัติส าเร็จการศึกษา เพื่อเข้ารับปริญญาบัตร
                            พ.ศ. ๒๕๐๕ เปิดสอนคณะครุศาสตร์ และ พ.ศ. ๒๕๐๖ เปิดสอนหลักสูตรแผนกอบรมครูศาสน
                  ศึกษา ระดับประกาศนียบัตรและเปิดสอนคณะเอเชียอาคเนย์ และเปลี่ยนเป็นคณะมานุษยสงเคราะห์ศาสตร์
                  เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ และ พ.ศ. ๒๕๑๒ ปรับหลักสูตรแผนกอบรมครูศาสนศึกษาเป็นวิทยาลัยครูศาสนศึกษา และ
                  ปรับเปลี่ยนหน่วยกิตเป็น ๒๐๐ หน่วยกิต อย่างไรก็ดี การจัดการเรียนการสอนช่วง ๒ ทศวรรษแรก ยังไม่ได้รับ
                  การสนับสนุนจากคณะสงฆ์และรัฐเท่าที่ควร ท าให้ประสบปัญหาด้านสถานะของมหาวิทยาลัย และงบประมาณ
                  เป็นอย่างมาก แต่ก็สามารถจัดการศึกษามาได้อย่างต่อเนื่อง
                            ต่อมาได้ตราพระราชบัญญัติก าหนดวิทยฐานะผู้ส าเร็จการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๒๗
                  ท าให้มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จากที่เคยมีวิทยาเขตเพียงหนึ่งแห่งในพ.ศ. ๒๕๒๗ ได้มีวิทยาเขตเพิ่มขึ้นเป็น
                  ๙ แห่งใน พ.ศ. ๒๕๓๔ มหาวิทยาลัยจัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัยใน พ.ศ. ๒๕๓๑ และเปิดการศึกษาระดับปริญญาโท
                  ในปีเดียวกัน ปัญหาที่ตามก็คือการที่มหาวิทยาลัยไม่มีสถานภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ท าให้การ
                  ประสานงานกับวิทยาเขตไม่บรรลุผล ทั้งในด้านบริหารทั่วไปและการบริหารงบประมาณ นอกจากนี้
                  พระราชบัญญัติก าหนดวิทยฐานะผู้ส าเร็จการศึกษาวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๒๗ รับรองวิทยฐานะ
                  เฉพาะปริญญาตรี ไม่รับรองวิทยฐานะระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอก
                            วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๐ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้ทรงลง

                  พระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองฉบับ คือ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราช
                  วิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ และพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ และ
                  พระราชบัญญัติก าหนดวิทยฐานะผู้ส าเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๐ ในวันที่ ๑ ตุลาคม
                  พ.ศ. ๒๕๔๐ พระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๕๑
                            ในขณะที่หลังยุคที่มีการตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๑ - ๒๕๕๘ ระดับ
                  ปริญญาตรี ปัจจุบันเปิดสอนใน ๔ คณะ มีหลักสูตร รวมทั้งสิ้น ๒๖ สาขาวิชา คือ คณะพุทธศาสตร์ สาขาวิชา
                  คณะครุศาสตร์ ๔ สาขาวิชา คณะมนุษยศาสตร์ ๔ สาขาวิชา และคณะสังคมศาสตร์ ๗ สาวิชา โดยหลักสูตร
                  ทั้งหมดนี้ ยังได้เปิดสอนที่วิทยาเขต วิทยาลัย โครงการขยายห้องเรียน หน่วยวิทยบริการ และสถาบันสมทบ
                  ของมหาวิทยาลัย
                            (ก) หลักสูตรคณะพุทธศาสตร์ ประกอบด้วย ๑๑ สาขาวิชา คือ (๑) สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (๒)
                  สาขาวิชาศาสนา (๓) สาขาวิชาปรัชญา (๔) สาขาวิชาบาลีพุทธศาสตร์ (๕) สาขาวิชาภาษาบาลี (๖) สาขาวิชา
                  บาลีสันสกฤต (๗) สาขาวิชาพุทธศิลปกรรม (๘) สาขาวิชามหายานศึกษา (๙) สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
                  มหายาน (๑๐) สาขาวิชาพระพุทธศาสนาจีน (๑๑) สาขาวิชาภาวะผู้น าทางพระพุทธศาสนา
                            (ข) หลักสูตรคณะครุศาสตร์ ประกอบด้วย ๑๑ สาขาวิชา คือ (๑) สาขาวิชาสังคมศึกษา (๒)
                  สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (๓) สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (๔) สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนาและ
                  จิตวิทยาแนะแนว
                            (ค) หลักสูตรคณะมนุษยศาสตร์ ประกอบด้วย ๔ สาขาวิชา คือ (๑) สาขาวิชาภาษาไทย (๒)
                  สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (๓) สาขาวิชาจิตวิทยา (๔) สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
                            (ง) หลักสูตรคณะสังคมศาสตร์ ประกอบด้วย ๗ สาขาวิชา คือ (๑) สาขาวิชารัฐศาสตร์ (๒)
                  สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (๓) สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ (๔) สาขาวิชาสังคมวิทยา (๕) สาขาวิชาสังคม
                  สงเคราะห์ศาสตร์ (๖) สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (๗) สาขาวิชานิติศาสตร์
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22