Page 4 - คู่มือนิสิต ปีการศึกษา 2563
P. 4
ค ำปรำรภ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของคณะ
สงฆ์ไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงสถาปนามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยขึ้น โดยให้ย้ายการสอนพระปริยัติธรรมจาก
ศาลาบอกพระปริยัติธรรมภายในวัดพระศรีรัตนศาสดารามไปตั้งที่วัดมหาธาตุ เพื่อเป็นที่
เล่าเรียนของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายและคฤหัสถ์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๐ และได้เปิดท าการสอน
เป็นทางการ เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๒ โปรดให้เรียกว่า มหาธาตุวิทยาลัย
ได้เปิดการเล่าเรียนแต่วันที่ ๘ พฤศจิกายน รัตนโกสินทร์ ศก ๑๐๘ สืบมา แต่สังฆิกเสนาสน์
ส าหรับมหาธาตุวิทยาลัยนี้ยังไม่เป็นที่สมควรแก่การเล่าเรียน เมื่อการบ าเพ็ญพระราชกุศล
ส่วนนั้นเสร็จแล้ว จะได้ทรงพระราชอุทิศถวายถาวรวัตถุนี้เป็นสังฆิกเสนาสน์ส าหรับ
มหาธาตุวิทยาลัย เพื่อเป็นที่เล่าเรียนพระปริยัติสัทธรรมแลวิชาชั้นสูงสืบไปภายหน้า และมี
พระบรมราชโองการเปลี่ยนนามใหม่ว่า “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” เมื่อวันที่ ๑๓
กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๙ เพื่อให้เป็นที่เฉลิมพระเกียรติยศสืบไป
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น มีจุดมุ่งหมายให้
เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและ
สังคม มีปรัชญาการด าเนินงานเน้นการเปิดโอกาสและให้ความเสมอภาคทางการศึกษาแก่
คณะสงฆ์และสังคมไทย เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มุ่งพัฒนานิสิตให้มีคุณสมบัติ ลักษณะที่พึง
ประสงค์ที่มหาวิทยาลัยก าหนดขึ้น ตามที่สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
มีมติอนุมัติให้ก าหนดเอกลักษณ์ มหาวิทยาลัย อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย และอัตลักษณ์
บัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในคราวประชุม ครั้งที่ ๗/๒๕๕๔
เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ดังนี้
๑. เอกลักษณ์มหาวิทยาลัย คือ บริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนา
๒. อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย คือ ประยุกต์พระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาจิตใจและ
สังคม
๓. อัตลักษณ์บัณฑิต คือ มีศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา
วิทยาเขตขอนแก่น มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ
ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF:HEd) โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาบูรณาการใน
กระบวนการจัดการเรียนสอน เพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีคุณภาพ เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของ
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติที่ให้การศึกษาเป็นเครื่องมือกลไกในการพัฒนาทรัพยากร
มนุษย์ให้มีความเป็นพลเมือง (มีองค์ประกอบ ๔ ด้าน คือ มีคุณลักษณะนิสัยและพฤติกรรม
ที่พึงประสงค์ มีองค์ความรู้ที่ส าคัญในศตวรรษที่ ๒๑ มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑
และมีทักษะการด ารงชีวิต) และมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามนวลักษณ์ของบัณฑิต
๙ ประการ มีการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน การจัดระบบการประกันคุณภาพ
การศึกษา ซึ่งสามารถตรวจสอบและเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับสากลตามเกณฑ์ประกัน