Page 189 - คู่มือบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2563
P. 189

180  | คู่มือนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยสงฆ์ขอนแก่น


                                                       หน้า   ๒๖
              เล่ม   ๑๓๒   ตอนพิเศษ   ๒๙๕   ง       ราชกิจจานุเบกษา               ๑๓   พฤศจิกายน   ๒๕๕๘



                           อนึ่ง  ระบบการจัดการศึกษาอื่นใดที่สถาบันอุดมศึกษานํามาใช้ในการจัดการศึกษาควรเป็น
              ระบบมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
                      ๖.  การจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป

                           วิชาศึกษาทั่วไปมีเจตนารมณ์เพื่อเสริมสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  โดยให้ศึกษา
              รายวิชาต่าง ๆ  จนเกิดความซาบซึ้งและสามารถติดตามความก้าวหน้าในสาขาวิชานั้นได้ด้วยตนเอง
              การจัดการเรียนการสอนควรจัดให้มีเนื้อหาวิชาที่เบ็ดเสร็จในรายวิชาเดียว  ไม่ควรมีรายวิชาต่อเนื่อง

              หรือรายวิชาขั้นสูงอีก  และไม่ควรนํารายวิชาเบื้องต้นหรือรายวิชาพื้นฐานของวิชาเฉพาะมาจัดเป็น
              วิชาศึกษาทั่วไป
                      ๗.  การเปิดสอนหลักสูตรระดับอนุปริญญา
                           สถาบันอุดมศึกษามีภารกิจหลักในการเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญา  เพื่อผลิตบัณฑิต
              ที่มีความรอบรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในสาขาวิชาการและวิชาชีพต่าง ๆ  ออกมารับใช้สังคม

              รวมทั้งมุ่งเน้นการเปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษา  เพื่อพัฒนานักวิชาการและนักวิชาชีพระดับสูง
              ให้สามารถบุกเบิกแสวงหาความรู้ใหม่
                           สําหรับการผลิตบุคลากรในระดับต่ํากว่าปริญญาตรี  (ระดับประกาศนียบัตร  และระดับอนุปริญญา)

              ควรเป็นภารกิจของสถานศึกษาประเภทอื่น  เช่น  วิทยาลัยชุมชน  วิทยาลัยอาชีวศึกษา  เป็นต้น  ดังนั้น
              สถาบันอุดมศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยที่จะเปิดสอนหลักสูตรระดับอนุปริญญา  ควรมีเหตุผลความจําเป็นอย่างยิ่ง
              ในการเปิดสอนและต้องคํานึงถึงความต้องการบุคลากรในสาขาวิชานั้นเป็นสําคัญ  รวมทั้งคํานึงถึงความซ้ําซ้อน
              ในการเปิดสอนสาขาวิชาที่มีการเปิดสอนอยู่แล้วในสถาบันอื่น
                      ๘.  การเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี  (ต่อเนื่อง)

                           หลักสูตรปริญญาตรี  (ต่อเนื่อง)  มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทักษะการปฏิบัติการอยู่แล้ว
              ให้มีความรู้ด้านวิชาการมากยิ่งขึ้น  รวมทั้งได้รับการฝึกปฏิบัติขั้นสูงเพิ่มเติม  ดังนั้น  จึงจัดไว้ในกลุ่ม
              หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการที่เน้นทักษะด้านการปฏิบัติเชิงเทคนิคในศาสตร์สาขาวิชานั้น ๆ

              เท่านั้น  เพื่อให้บัณฑิตจบไปเป็นนักปฏิบัติ
                           การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรนี้  ต้องมีการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมกับ
              สถานประกอบการในภาคการผลิตหรือการบริการ  โดยอาจจัดในรูปสหกิจศึกษา  หรือการฝึกงาน
              ในสถานประกอบการ  และเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร  (ต่อเนื่อง)  ให้รับนักศึกษา
              ที่สําเร็จการศึกษาตรงตามสาขาวิชาที่จะเข้าศึกษาเท่านั้น

                           ในด้านอาจารย์ผู้สอนจํานวนหนึ่งต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ในทางปฏิบัติมาแล้วและหาก
              เป็นผู้สอนจากสถานประกอบการต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ
              ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

                      ๙.  จํานวนและคุณวุฒิของอาจารย์
                           ๙.๑  อาจารย์ประจําหลักสูตร  อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร  และอาจารย์ผู้สอน
              ทั้งอาจารย์ประจําและอาจารย์พิเศษ  ต้องมีคุณวุฒิและคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ระบุในเกณฑ์มาตรฐาน
              หลักสูตร  นอกจากนั้น  ในระดับบัณฑิตศึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์
              ต้องมีคุณวุฒิและคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กําหนดเช่นกัน
   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194