Page 137 - คู่มือบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2563
P. 137
128 | คู่มือนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยสงฆ์ขอนแก่น
๑๒๘ คู่มือนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยสงฆ์ขอนแก่น
๖๒๖ ๒๐๓ การเมืองเปรียบเทียบ ๓ (๓-๐-๖)
Comparative Politics
ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการเมืองเปรียบเทียบ ขอบข่ายและความเป็นมาของการศึกษาการเมือง
เปรียบเทียบทฤษฎี และแนวทางที่ใช้ในการเปรียบเทียบ อาทิ แนวทางโครงสร้างหน้าที่แนวทางวิเคราะห์
ระบบ แนวทางวัฒนธรรมการเมือง แนวทางการพัฒนาทางการเมือง แนวทางกลุ่ม แนวทางชนชั้นน า
การเปรียบเทียบระบบการเมือง ความชอบธรรมและความมีประสิทธิผล การประเมินระบบ ตลอดจนปัญหา
อุปสรรคในการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบ และแนวโน้มทางการเมืองเปรียบเทียบ
หมวดวิชาเลือก จ านวน ๑๒ หน่วยกิต
๖๒๖ ๒๐๔ พัฒนาการการเมืองการปกครองของไทย ๓ (๓-๐-๖)
Development of Thai Politics and Government
การศึกษาภูมิหลังและพัฒนาการทางการเมืองการปกครองของประเทศไทยในแง่มุมต่างๆ ในสมัยกรุง
สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น จนถึงยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็น
ระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ลักษณะของโครงสร้างทางอ านาจ ทั้งที่เป็นมาแต่เดิมและที่ก าลัง
เปลี่ยนแปลงไป การต่อสู้ทางอ านาจในระหว่างชนชั้นน าและจุดเปลี่ยนทางการเมือง ตลอดจนปัญหาทางการ
เมืองที่ได้เกิดขึ้นตามสภาพการณ์ของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และตามกระบวนการของการพัฒนาประเทศ
ให้ทันสมัย และโดยผลของกระบวนการประชาธิปไตยในไทย สภาพการณ์ของปัญหาที่เป็นมาและด ารงอยู่ใน
ปัจจุบันและแนวทางการแก้ไขปัญหาการเมืองการปกครองของไทยในปัจจุบัน
๖๒๖ ๒๐๕ การเลือกตั้ง พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ ๓ (๓-๐-๖)
Election, Political Parties and Interest Groups
ศึกษาระบบและวิเคราะห์รูปแบบการเลือกตั้ง อ านาจและหน้าที่ของคณะกรรมการเลือกตั้ง
พฤติกรรมการเมืองในมิติต่างๆ เน้นพฤติกรรมการเลือกตั้งในระดับชาติ ท้องถิ่น และในเชิงเปรียบเทียบ
กระบวนการเลือกตั้ง ระบบเลือกตั้ง และความสัมพันธ์ระหว่างระบบเลือกตั้ง ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งและพรรค
การเมือง ในฐานะสถาบันทางการเมือง บทบาท หน้าที่และโครงสร้างของพรรคการเมืองในปัจจุบัน และศึกษา
พัฒนาการของกลุ่มผลประโยชน์ อิทธิพลของกลุ่มผลประโยชน์ที่มีผลต่อการด าเนินงานและการก าหนด
นโยบายของรัฐ โดยรวมถึงศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งและ
พระราชบัญญัติพรรคการเมืองฉบับปัจจุบัน
๖๒๖ ๒๐๖ ภาษาอังกฤษส าหรับรัฐศาสตร์ ๓ (๓-๐-๖)
English for Political Science
ศึกษาพัฒนาทักษะและความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ การฟัง พูด อ่าน และเขียน จากต ารา
หนังสือ เอกสารวิชาการภาษาอังกฤษที่เป็นองค์ความรู้ต่าง ๆ ในสาขาวิชารัฐศาสตร์ โดยมุ่งเน้นการค้นคว้า
เอกสารทางวิชาการ งานวิจัย วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อสมัยใหม่ต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ สามารถแปล
ความจับประเด็นส าคัญ และสรุปเรื่องราวทางรัฐศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง