Page 25 - คู่มือบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2563
P. 25
16 | คู่มือนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยสงฆ์ขอนแก่น
๑๖ คู่มือนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยสงฆ์ขอนแก่น
การเปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยสงฆ์ขอนแก่น
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงสถาปนามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยขึ้น โดยให้
ย้ายการสอนพระปริยัติธรรม จากศาลาบอกพระปริยัติธรรมภายในวัดพระศรี
รัตนศาสดาราม ไปตั้งที่วัดมหาธาตุ เพื่อเป็นที่ศึกษาเล่าเรียนของพระสงฆ์ฝ่าย
มหานิกายและคฤหัสถ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๐ และโปรดให้เรียกว่า มหาธาตุวิทยาลัย
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชด าเนินไปทรงวางศิลา
ฤกษ์ เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๙ และได้พระราชทานเปลี่ยนนามมหาธาตุ
วิทยาลัยเป็น มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศของพระองค์ หลังจากนั้น
เป็นระยะเวลา ๕๑ ปี คณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย จ านวน ๕๗ รูป มีพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺตเถร)
เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ได้มีมติให้ด าเนินการจัดการศึกษาในรูปแบบมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ.
๒๔๙๐ เป็นต้นมา โดยให้มีการจัดการศึกษาเฉพาะในระดับปริญญาตรี
ภายหลังจากการที่พระองค์ได้ทรงสถาปนามหาวิทยาลัยให้มีการจัดการศึกษาให้แก่พระสงฆ์ทั้ง
วิชาการพระไตรปิฎกและการศึกษาระดับปริญญาตรี มาเป็นระยะเวลากว่า ๔๑ ปี ต่อมา พระมหาประยูร
ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.๙, ดร. ผู้อ านวยการกองวิชาการ ได้มองเห็นความจ าเป็นในการพัฒนาการศึกษาให้แก่พระสงฆ์
ให้มีความรู้ที่สูงขึ้น จึงได้ริเริ่มจัดตั้งหน่วยงานระดับบัณฑิตวิทยาลัยขึ้น เพื่อจัดการศึกษาในระดับปริญญาโท
และปริญญาเอก ให้แก่พระสงฆ์ โดยอาศัยแนวปฏิบัติตามความในค าสั่งมหาเถรสมาคม เรื่องการศึกษาของ
มหาวิทยาลัยสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๑๒ ข้อ ๕ (๒) ว่าด้วยการพิจารณา จัดตั้ง ยุบ รวม และเลิกล้ม คณะ วิทยาลัย
บัณฑิตวิทยาลัย ภาควิชา และหรือส่วนงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นในมหาวิทยาลัย และข้อ ๗ ความว่า “ถ้าเป็น
การสมควรมหาวิทยาลัยสงฆ์ ทั้งสองแห่งจะร่วมกันจัดการศึกษาขั้นบัณฑิตวิทยาลัยอีกส่วนหนึ่ง โดย
อนุมัติของสภามหาวิทยาลัยของคณะสงฆ์ก็ได้” มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จึงได้มีประกาศที่
๖๕/๒๕๒๙ ลงวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๙ แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น เพื่อด าเนินการยกร่างโครง
การบัณฑิตวิทยาลัยและหลักสูตรปริญญาโท ประกอบด้วย
๑. พระเมธีสุทธิพงศ์ (ระวัง วชิรญาโณ) ประธานกรรมการ
๒. พระมหาณรงค์ จิตฺตโสภโณ กรรมการ
๑
๓. พระมหาทองสูรย์ สุริยโชโต กรรมการ
๒
๔. พระมหาจรรยา ชินว โส กรรมการ
๓
๔
๕. พระมหาประยูร ธมฺมจิตฺโต กรรมการ
๖. นายจ านงค์ ทองประเสริฐ กรรมการ
๗. รศ.ดร.จ าลอง สารพัดนึก กรรมการ
๑ พระราชปวราจารย์, รศ.ดร. อดีตตรองอธิการบดีวิทยาเขตนครราชสีมา วัดมหาพฤฒาราม กรุงเทพมหานคร.
๒ พระเทพกิตติโมลี เจ้าอาวาสวัดศรีนครินทรวราราม ประเทศสวิสเซอร์แลนด์.
๓ พระเมธีรัตนดิลก, ดร. อดีตอาจารย์ประจ าคณะพุทธศาสตร์ วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร.
๔ พระพรหมบัณฑิต, ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ – ๒๕๖๑.