Page 242 - คู่มือนิสิต ปีการศึกษา 2563
P. 242

คู่มือนิสิตระดับปริญญาตรี วิทยาลัยสงฆ์ขอนแก่น |  231



                                                        หน้า   ๔

              เล่ม   ๑๓๒   ตอนพิเศษ   ๒๙๕   ง       ราชกิจจานุเบกษา               ๑๓   พฤศจิกายน   ๒๕๕๘


                           ๕.๒  หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการ  แบ่งเป็น  ๒  แบบ  ได้แก่
                                 ๕.๒.๑  หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการ  ที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้

              ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ  เน้นความรู้  สมรรถนะและทักษะด้านวิชาชีพตามข้อกําหนดของมาตรฐานวิชาชีพ
              หรือมีสมรรถนะและทักษะด้านการปฏิบัติเชิงเทคนิคในศาสตร์สาขาวิชานั้น ๆ  โดยผ่านการฝึกงาน
              ในสถานประกอบการ  หรือสหกิจศึกษา
                                         หลักสูตรแบบนี้เท่านั้นที่จัดหลักสูตรปริญญาตรี  (ต่อเนื่อง)  ได้  เพราะมุ่ง

              ผลิตบัณฑิตที่มีทักษะการปฏิบัติการอยู่แล้ว  ให้มีความรู้ด้านวิชาการมากยิ่งขึ้น  รวมทั้งได้รับการฝึกปฏิบัติ
              ขั้นสูงเพิ่มเติม
                                         หลักสูตรปริญญาตรี  (ต่อเนื่อง)  ถือเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรปริญญาตรี
              และจะต้องสะท้อนปรัชญาและเนื้อหาสาระของหลักสูตรปริญญาตรีนั้น ๆ  โดยครบถ้วน  และให้ระบุคําว่า

              “ต่อเนื่อง”  ในวงเล็บต่อท้ายชื่อหลักสูตร
                                 ๕.๒.๒  หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการ  ซึ่งเป็นหลักสูตร
              สําหรับผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ  มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้  สมรรถนะทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการขั้นสูง
              โดยใช้หลักสูตรปกติที่เปิดสอนอยู่แล้ว  ให้รองรับศักยภาพของผู้เรียน  โดยกําหนดให้ผู้เรียนได้ศึกษาบางรายวิชา

              ในระดับบัณฑิตศึกษาที่เปิดสอนอยู่แล้ว  และทําวิจัยที่ลุ่มลึกหรือได้รับการฝึกปฏิบัติขั้นสูงในหน่วยงาน
              องค์กร  หรือสถานประกอบการ
                                         หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาการหรือทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการ
              ต้องมีการเรียนรายวิชาระดับบัณฑิตศึกษาไม่น้อยกว่า  ๑๒  หน่วยกิต

                      ๖.  ระบบการจัดการศึกษา  ใช้ระบบทวิภาค  โดย  ๑  ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น  ๒  ภาค
              การศึกษาปกติ  ๑  ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า  ๑๕  สัปดาห์  สถาบันอุดมศึกษา
              ที่เปิดการศึกษาภาคฤดูร้อน  ให้กําหนดระยะเวลาและจํานวนหน่วยกิตโดยมีสัดส่วนเทียบเคียงกัน

              ได้กับการศึกษาภาคปกติ
                      สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาในระบบไตรภาค  หรือระบบจตุรภาค  ให้ถือแนวทางดังนี้

                           ระบบไตรภาค
                                 ๑  ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น  ๓  ภาคการศึกษาปกติ  ๑  ภาคการศึกษาปกติ
              มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า  ๑๒  สัปดาห์

                                 โดย  ๑  หน่วยกิตระบบไตรภาค  เทียบได้กับ  ๑๒/๑๕  หน่วยกิตระบบทวิภาค
              หรือ  ๔  หน่วยกิตระบบทวิภาค  เทียบได้กับ  ๕  หน่วยกิตระบบไตรภาค

                           ระบบจตุรภาค
                                 ๑  ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น  ๔  ภาคการศึกษาปกติ  ๑  ภาคการศึกษาปกติ
              มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า  ๑๐  สัปดาห์

                                 โดย  ๑  หน่วยกิตระบบจตุรภาค  เทียบได้กับ  ๑๐/๑๕  หน่วยกิตระบบทวิภาค
              หรือ  ๒  หน่วยกิตระบบทวิภาค  เทียบได้กับ  ๓  หน่วยกิตระบบจตุรภาค
                      สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาระบบอื่น  ให้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับระบบการศึกษานั้น

              รวมทั้งรายละเอียดการเทียบเคียงหน่วยกิตกับระบบทวิภาคไว้ในหลักสูตรให้ชัดเจนด้วย
   237   238   239   240   241   242   243   244   245   246   247