Page 31 - คู่มือบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2563
P. 31
22 | คู่มือนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยสงฆ์ขอนแก่น
๒๒ คู่มือนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยสงฆ์ขอนแก่น
๑. ผู้สมัครต้องเสนอหัวข้อและโครงร่างดุษฎีนิพนธ์ที่มีความเป็นไปได้ มีรายละเอียดครอบคลุม
๑) หัวข้อดุษฎีนิพนธ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
๒) รายชื่อคณะกรรมการควบคุมดุษฎีนิพนธ์ที่ตอบรับแล้ว
๓) ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา
๔) วัตถุประสงค์การวิจัย
๕) ทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
๖) วิธีการด าเนินการวิจัย
๗) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๘) โครงสร้างของดุษฎีนิพนธ์ (สารบัญชั่วคราว)
๙) บรรณานุกรมและเชิงอรรถ
๑๐) ประวัติผู้วิจัย
๒. ผู้สมัครต้องผ่านสอบข้อเขียนวัดความรู้ในรายวิชาตามที่บัณฑิตวิทยาลัย และ/หรือ
คณะกรรมการบริหารหลักสูตรก าหนด และสอบวัดความรู้ด้านภาษาอังกฤษเป็นไปตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย
และ/หรือสถาบันภาษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยก าหนดไว้
๓. ผู้สมัครต้องผ่านการสอบสัมภาษณ์ในเนื้อหาโครงร่างดุษฎีนิพนธ์ และความรู้ความสามารถด้าน
อื่น ๆ ตามที่บัณฑิตวิทยาลัยก าหนด
๔. ผู้สอบเข้าได้ตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัย ต้องเข้ารายงานตัวตามวัน เวลา และสถานที่ที่
บัณฑิตวิทยาลัยก าหนด
ระบบการศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัยจัดการศึกษาระบบทวิภาคโดยแบ่งเวลาการศึกษาในแต่ละปีการศึกษาออกเป็น ๒
ภาคการศึกษาปกติแต่ละภาคการศึกษามีเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๕ สัปดาห์ และอาจจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน
ได้อีก ๑ ภาคการศึกษาโดยก าหนดระเบียบว่าด้วยการศึกษาภาคฤดูร้อนตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับ
บัณฑิตศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ๒๕๔๘ และข้อบังคับ กฎ ระเบียบ ประกาศของมหาวิทยาลัยมหาจุฬา
ลงกรณราชวิทยาลัย และบัณฑิตวิทยาลัย ในแต่ละหลักสูตรก าหนดให้นิสิตสอบวัดคุณสมบัติ ดังนี้
๑. หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
นิสิตแบบ ๒.๑ ต้องสอบวัดคุณสมบัติเขียนสารนิพนธ์ประกอบ ๑ รายวิชาต่อไปนี้
๑) ๘๐๑ ๑๐๑ สัมมนาพระไตรปิฎกและอรรถกถา หรือ
๒) ๘๐๑ ๒๐๗ สัมมนาหลักพุทธธรรม หรือ
๓) ๘๐๑ ๒๐๘ สัมมนาพระพุทธศาสนากับวิทยาการสมัยใหม่
๒. หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา
นิสิตแบบ ๒.๑ ต้องสอบวัดคุณสมบัติใน ๓ รายวิชาต่อไปนี้
๑) ๘๐๒ ๑๐๑ สัมมนาพุทธปรัชญาในพระไตรปิฎก
๒) ๘๐๒ ๒๐๗ การวิเคราะห์เชิงปรัชญา
๓) ๘๐๒ ๓๐๘ สัมมนาปัญหาในปรัชญาตะวันออก