Page 57 - คู่มือนิสิต ปีการศึกษา 2563
P. 57
46 | คู่มือนิสิตระดับปริญญาตรี วิทยาลัยสงฆ์ขอนแก่น
๔๖ คู่มือนิสิตระดับปริญญาตรี วิทยาลัยสงฆ์ขอนแก่น
๑๐๔ ๔๑๘ ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์เบื้องต้น ๓ (๓-๐-๖)
(Symbolic Logic)
ศึกษาความหมายและลักษณะของตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ ความสัมพันธ์และความแตกต่าง
จากตรรกศาสตร์แบบเดิม ญัตติ ข้ออ้างเหตุผล ค่าความจริง ความจริงเชิงตรรกะ ความสมเหตุสมผล การใช้
สัญลักษณ์และวิธีทดสอบความสมเหตุสมผลแบบต่างๆ เช่น ตารางความจริง ของญัตติเชิงซ้อน และข้ออ้าง
เหตุผลในตรรกศาสตร์ของญัตติ และตรรกศาสตร์ภาคนิเทศ
๑๐๔ ๔๑๙ ปรัชญาศาสนา ๓ (๓-๐-๖)
(Philosophy of Religion)
ศึกษาลักษณะและขอบเขตของปรัชญาศาสนา ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญาศาสนา มนุษย์
กับศาสนา ภาษาศาสนา ประสบการณ์ทางศาสนา อมตภาพของวิญญาณ ปัญหาความชั่วร่าย ปัญหาเรื่อง
สิ่งสูงสุด
๑๐๔ ๔๒๑ ปรัชญาไทย ๓ (๓-๐-๖)
(Thai Philosophy)
ศึกษาแนวคิดภูมิปัญญาไทยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ตั้งแต่อดีตถึง
ปัจจุบัน เช่น แนวคิดของนักปราชญ์ท้องถิ่น และภูมิปัญญาชาวบ้านที่ได้รับอิทธิพลจากค าสอนของศาสนา
พราหมณ์และพระพุทธศาสนา
๑๐๔ ๔๒๕ ปรัชญาวิเคราะห์ ๒ (๒-๐-๔)
(Analytical Philosophy)
ศึกษาประวัติและพัฒนาการของปรัชญาวิเคราะห์สมัยปัจจุบัน เน้นงานของวิตก์เกนสไตน์,
อันเฟรด แอร์, ชลิค เฟรเก เบอร์ทรันต์ รัสเซลล์
วิชาเลือกเฉพาะสาขาปรัชญา จ านวน ๙ หน่วยกิต
๑๐๔ ๔๑๔ ปรัชญาอินเดียร่วมสมัย ๓ (๓-๐-๖)
(Contemporary Indian Philosophy)
แนวคิดทางปรัชญาและปรัชญาของสวามีรามกฤษณะ, วิเวกานันทะ, รพินทรนาถ ฐากูร,
ศรีอรพินโท, มหาตมคานธี, ราธกฤษณัน, กฤษณจันทะ, ภัฏฏาจารย์ และอัมเบดการ์
๑๐๔ ๓๒๐ ปรัชญาหลังนวยุค ๓ (๓-๐-๖)
(Post Modern Philosophy)
ศึกษากระบวนทัศน์ทางปรัชญาในยุคต่าง ๆ เช่น ปรัชญายุคโบราณ ปรัชญายุคกลางปรัชญา
ยุคใหม่ และปรัชญาร่วมสมัย ในฐานะเป็นระบบเครือข่ายทางแนวคิดที่ไม่มีการแบ่งแยก แต่เป็นการค้นคว้าเพื่อ
แสวงหาจุดร่วมของโลกแห่งความคิดและความจริงทางปรัชญา
๑๐๔ ๓๒๒ ปรัชญาสังคมและการเมือง ๓ (๓-๐-๖)
(Social and Political Philosophy)
ศึกษาความหมายและขอบข่ายของปรัชญาสังคมและการเมือง ทฤษฎีทางสังคมและการเมือง
ของตะวันตกและตะวันออก ปัญหาเรื่องรัฐ ระบบการเมือง สิทธิ เสรีภาพ ความยุติธรรม และทัศนะ
พระพุทธศาสนาเกี่ยวกับสังคมและการเมือง