Page 59 - คู่มือนิสิต ปีการศึกษา 2563
P. 59
48 | คู่มือนิสิตระดับปริญญาตรี วิทยาลัยสงฆ์ขอนแก่น
๔๘ คู่มือนิสิตระดับปริญญาตรี วิทยาลัยสงฆ์ขอนแก่น
๑๐๔ ๓๓๕ วิเคราะห์ปัญหาปัจจุบันเชิงปรัชญา ๓ (๓-๐-๖)
(Philosophical Analysis of Current Problems)
ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาในปัจจุบันด้วยวิธีทางปรัชญา ประยุกต์ทฤษฎีทางปรัชญาเพื่อการ
แก้ปัญหา
๑๐๔ ๓๓๖ ปัญหาปรัชญาภาคภาษาอังกฤษ ๓ (๓-๐-๖)
(The Problems of Philosophy in English)
ศึกษาปัญหาปรัชญาจากหนังสือภาษาอังกฤษที่ก าหนดให้
๑๐๔ ๓๓๗ ปรัชญาจิต ๓ (๓-๐-๖)
(Philosophy of Mind)
ประเด็นทางอภิปรัชญา และญาณวิทยาที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของจิต ได้แก่ แนวคิดทวินิยม
แนวคิดสสารนิยมในรูปแบบต่างๆ โดยเน้นเรื่องการรู้จิตอื่น ธรรมชาติของจิต ส านึกธรรมชาติของการคิด
๑๐๔ ๓๓๘ ชีวจริยศาสตร์ ๓ (๓-๐-๖)
(Bioethics)
มโนทัศน์ทางจริยศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางชีวภาพและการแพทย์ รวมทั้งประเด็นที่
เกี่ยวข้องกับปัญหาทางสังคม
๑๐๔ ๓๓๙ ปรัชญาจิตวิทยา ๓ (๓-๐-๖)
(Philosophy of Psychology)
ปัญหาทางปรัชญาที่เกิดขึ้นจากทฤษฎีทางจิตวิทยา โดยเน้นเรื่องจิตวิทยาแห่งการรู้คิด
๑๐๔ ๓๔๐ ปรัชญาสังคมศาสตร์ ๓ (๓-๐-๖)
(Philosophy of Social Science)
ปรัชญาทางสังคมศาสตร์ ได้แก่ ธรรมชาติของความรู้ ทางสังคม ปรากฏการณ์ทางสังคมทั้งใน
แง่ปัจเจกบุคคลและองค์รวม การอธิบายทางสังคม ความเชื่อและการกระท าทางสังคม
๑๐๔ ๓๔๑ ปรัชญาอาเซียน ๓ (๓-๐-๖)
(Philosophy of Asean)
ศึกษาแนวคิดและมโนทัศน์ชุมชนชาวอาเซียนที่มีต่อการมองโลกและจักรวาลวิทยา เป้าหมาย
ความหมาย และจริยวิถีแห่งชีวิต ตลอดจนภูมิปัญญาดั้งเดิมของชุมชนชาวอาเซียนที่มีลักษะเคลื่อนไหว
ไม่หยุดนิ่ง มีวิถีแห่งการบูรณาการแนวคิดของชุมชนเข้ากับแนวคิดใหม่ทั้งจากปุริมทิศและปัจฉิมทิศ เกิดเป็นภูมิ
ปัญญาเฉพาะของชุมชน อันจะน ามาซึ่งความเข้าใจและร่วมมือมืออันดี ระหว่างชุมชนชาวอาเซียในโลกยุคไร้
พรมแดน
๑๐. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังส าเร็จการศึกษา
ผู้ที่จบการศึกษาหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา สามารถท างานได้ทั้งภาครัฐและเอกชน
ดังนี้ (๑) ผู้บริหารมหาวิทยาลัย (๒) ครู/อาจารย์ (๓) พระสังฆาธิการ (๔) ส านักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
(๕) นักวิชาการด้านภาษา (๖) พิธีกร (๗) นักวิชาการศาสนา (๘) นักวิชาการศึกษา (๙) เจ้าหน้าที่บริหารงาน
การศาสนา (๑๐) อนุศาสนาจารย์ (๑๑) เจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ (๑๒) เจ้าหน้าที่กรมสุขภาพจิต (๑๓)
นักวิชาการกรมการศาสนา (๑๔) เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมบุคลากร (๑๕) นักสังคมสงเคราะห์ฟื้นฟูพัฒนาจิตใจ (๑๖)
ผู้น าสังคมด้านจิตใจและปัญญา