Page 107 - คู่มือบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2563
P. 107

98  | คู่มือนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยสงฆ์ขอนแก่น

                  ๙๘                                               คู่มือนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยสงฆ์ขอนแก่น


                           ๖๐๓ ๓๑๕   สุนทรียศาสตร์                                        ๓ (๓-๐-๙)
                                        Aesthetics

                           ศึกษาทฤษฎีทางสุนทรียศาสตร์ตะวันตกและตะวันออก เช่น ทฤษฎีอัตวิสัย (Subjective) ปรวิสัย
                  (Objective) สัมพัทธวิสัย (Relativism) อารมณ์นิยม (Emotionalism) พร้อมทั้งเกณฑ์ตัดสินทางสุนทรียะ
                  ประสบการณ์สุนทรียะ โดยศึกษาแนวคิดเรื่องความงามผ่านภาพจิตรกรรม ประติมากรรม ศิลปกรรมคีตศิลป์
                  ทัศนศิลป์ (Visual arts) รวมทั้งวัตถุสุนทรียะ ศิลปวิจารณ์ และศิลปวิจักษ์

                           ข.  หมวดวิชาเอก ไม่นับหน่วยกิต
                           ๘๐๒ ๒๐๙   สัมมนาปัญหาปรัชญาศาสนา                               (๓) (๓-๐-๙)
                                        Seminar on Problems of Philosophy of Religions
                           สัมมนาปัญหาทางปรัชญาศาสนา เช่น ปัญหาเกี่ยวกับพระเป็นเจ้า กรรมและนิพพาน ภาษาศาสนา

                  ประสบการณ์ทางศาสนา สัญลักษณ์ทางศาสนา ความเชื่อและความจริงทางศาสนากับความรู้ทางวิทยาศาสตร์
                  ทั้งนี้ นิสิตต้องก าหนดประเด็นที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาอย่างน้อย ๓ ประเด็น แล้วจัดท าโครงร่างรายงาน ด าเนิน
                  การศึกษา รวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูล และเสนอผลการศึกษา โดยความเห็นชอบของอาจารย์ประจ าวิชา


                           ๓) หมวดวิชาเลือก  นิสิตต้องศึกษาในรายวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต
                           ๖๐๓ ๓๑๑   ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์                                  ๓ (๓-๐-๙)
                                        Symbolic Logic
                           ศึกษาความหมาย ลักษณะ และประเภทของตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ ความหมายของญัตติ

                  (Proposition) ชนิดของญัตติ ค่าความจริง (Truth Value) การอ้างเหตุผล (Argument) และความสมเหตุ
                  สมผล (Validity) การท าสัญลักษณ์ การใช้ตารางความจริงและวิธีพิสูจน์ ความสมเหตุสมผลชนิดต่าง ๆ เช่น
                  วิธีนิรนัยธรรมชาติ (Natural Deducation) วิธีพิสูจน์โดยการสมมติเงื่อนไข (Conditional Proof) และวิธี
                  พิสูจน์โดยอ้อม (Indirect Proof)

                           ๖๐๓ ๓๑๔   ปรัชญาการเมือง                                       ๓ (๓-๐-๙)
                                          Political Philosophy
                           ศึกษาแนวคิดทางการเมือง เช่น แนวคิดเรื่องรัฐ แนวคิดเรื่องรัฐาธิปัตย์ แนวคิดเรื่องเสรีภาพ

                  แนวคิดเรื่องการออกกฎหมาย แนวคิดเรื่องประชาธิปไตย แนวคิดเรื่องธรรมาธิปไตย แนวคิดเรื่องสังคมนิยม
                  แนวคิดเรื่องเผด็จการนิยม แนวคิดเรื่องธัมมิกสังคมนิยม โดยเลือกแนวคิดส าคัญของนักปรัชญา เช่น ขงจื้อ
                  พลาโต อาริสโตเติล โธมัส ฮอบส์ จอห์น ล็อค ฌอง-ฌักส์ รุสโซ  มาเคียเวลลี คาร์ล มาร์กซ์  มหาตมะ คานธี
                  ดร.อัมเบกการ์ พุทธทาสภิกขุ
                           ๖๐๓ ๓๑๗   ปรัชญาวิทยาศาสตร์                                    ๓ (๓-๐-๙)

                                        Philosophy of Science
                           ศึกษาแนวคิดทางปรัชญาที่เป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์  โดยเฉพาะปรัชญาส านักปฏิฐานนิยมเชิง
                  ตรรกะ (Logical Positivism) ของกลุ่มเวียนนา (Vienna Circle) ส านักประสบการณ์นิยม (Empiricism) และ

                  ปรัชญาฟิสิกส์ใหม่ เช่น ทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (General Theory of Relativity)
                  และทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Theory of Relativity) ของอัลเบิร์ต ไอส์ไตน์
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112