Page 87 - คู่มือนิสิต ปีการศึกษา 2563
P. 87
76 | คู่มือนิสิตระดับปริญญาตรี วิทยาลัยสงฆ์ขอนแก่น
๗๖ คู่มือนิสิตระดับปริญญาตรี วิทยาลัยสงฆ์ขอนแก่น
๒๐๓ ๒๐๓ ประวัติศาสตร์ไทยเชิงวิเคราะห์ ๓ (๓-๐-๖)
(Analytical History of Thailand)
วิธีการทางประวัติศาสตร์ วิวัฒนาการชาติไทยด้านการเมืองและการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม
และวัฒนธรรม และความสัมพันธ์กับต่างประเทศ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยกรุง
ธนบุรีและรัตนโกสินทร์ และสถานการณ์ชาติไทยในปัจจุบันในเชิงวิเคราะห์
๒๐๓ ๒๐๔ ภูมิศาสตร์ประเทศไทย ๓ (๓-๐-๖)
(Geography of Thailand)
แนวคิดเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ภูมิภาค การวิเคราะห์สภาพภูมิศาสตร์ของประเทศไทยทั้งทางด้าน
ที่ตั้ง อาณาเขต ลักษณะทางด้านกายภาพ ลักษณะทางด้านเศรษฐกิจ ประชากร การวิเคราะห์ความสามารถใน
การผลิตเชิงการเกษตร อุตสาหกรรมการค้า การคมนาคมขนส่ง และการศึกษาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติฉบับปัจจุบัน เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ตามสภาพจริง
๒๐๓ ๓๐๕ พระพุทธศาสนากับการพัฒนาสังคม ๓ (๓-๐-๖)
(Buddhism and Social Development)
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมตามแนวทางพระพุทธศาสนา ที่มีอิทธิพลต่อการ
เปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและการปกครองของไทย
๒๐๓ ๓๐๖ ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ๓ (๓-๐-๖)
(Contemporary History)
พัฒนาการประวัติศาสตร์ร่วมสมัยตั้งแต่หลังสงครามโลก ครั้งที่ ๒ จนถึงปัจจุบัน โดยเน้น
การศึกษาวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น อันมีผลกระทบต่อสังคมโลกโดยรวม
๒๐๓ ๓๐๗ วิทยาการจัดการเรียนรู้ทางสังคมศึกษา ๒ (๑-๒-๓)
(Science of Social Studies Learning Management)
ทฤษฎีการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาสมัยใหม่ วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น
พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิเคราะห์แบบเรียน ออกแบบการจัดการ
เรียนรู้ทางสังคมศึกษาเพื่อสอดคล้องบริบทชุมชน เทคนิคและกระบวนการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาสู่การ
ปฏิบัติในชั้นเรียน การวัดผลและประเมินผลการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนใน
ศตวรรษที่ ๒๑
๒๐๓ ๓๐๘ ความรู้ทั่วไปทางรัฐศาสตร์ ๓ (๓-๐-๖)
(General Knowledge in Political Sciences)
ความหมาย ขอบข่ายและปรัชญาของรัฐศาสตร์ แนวคิดทฤษฎีความขัดแย้งและอุดมการณ์
ทางการเมือง ระบบและลัทธิทางการเมือง อ านาจทางการเมือง รูปแบบการปกครอง การเลือกตั้ง สิทธิเสรีภาพ
และการมีส่วนร่วมของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๒๐๓ ๓๐๙ เทคโนโลยีภูมิศาสตร์สารสนเทศ ๓ (๒-๒-๕)
(Geo-informatic Technology)
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภูมิสารสนเทศ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้แผนที่ ระบบสารสนเทศ
ภูมิศาสตร์และการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หลักการรับรู้ระยะไกล (Remote Sensing) และ
ระบบก าหนดต าแหน่งบนพื้นโลกด้วยดาวเทียม (GPS) ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) แผนที่บน
เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่การฝึกปฏิบัติภาคสนามโดยการประยุกต์ใช้
โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับภูมิสารสนเทศในชีวิตประจ าวัน และวิทยาการสอนภูมิสารสนเทศ