Page 65 - คู่มือนิสิต ปีการศึกษา 2563
P. 65
54 | คู่มือนิสิตระดับปริญญาตรี วิทยาลัยสงฆ์ขอนแก่น
๕๔ คู่มือนิสิตระดับปริญญาตรี วิทยาลัยสงฆ์ขอนแก่น
๗.๓ วิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต
นิสิตสาขาวิชาการสอนภาษาไทย ต้องเลือกศึกษารายวิชาเอก หรือวิชาการสอนวิชาเอก หรือวิชา
เลือกวิชาเอก หรือรายวิชาอื่นๆ ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ไม่น้อยกว่า ๖
หน่วยกิต โดยความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา
๘. ค าอธิบายรายวิชา
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ๓๐ หน่วยกิต
วิชาบังคับ ๑๘ หน่วยกิต
วิชาเลือก ๑๒ หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ ๑๐๔ หน่วยกิต
วิชากลุ่มพระพุทธศาสนา ๓๐ หน่วยกิต
ในหมวดรายวิชาดังกล่าว ใช้ค าอธิบายรายวิชาเหมือนกับหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิขา
พระพุทธศาสนา
วิชาชีพครู ไม่น้อยกว่า ๔๖ หน่วยกิต
วิชาบังคับ ๓๐ หน่วยกิต
๒๐๐ ๑๐๑ ความเป็นครูวิชาชีพ ๓ (๓-๐-๖)
(Professional Teacher)
พัฒนาการของวิชาชีพครู สภาพงานครู คุณลักษณะของครูในศตวรรษที่ ๒๑ มาตรฐาน
วิชาชีพครู การพัฒนาครูให้มีความรอบรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนและกลยุทธ์การสอน ยึดหลักธรรมาภิบาลและ
ความซื่อสัตย์สุจริต มีจิตวิญญาณความเป็นครู จิตส านึกสาธารณะ และเสียสละให้สังคม ปฏิบัติตนเป็น
แบบอย่างที่ดีตามจรรยาบรรณของวิชาชีพครู สามารถจัดการความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพครู สร้างความก้าวหน้าและ
พัฒนาวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่อง มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับผู้เรียน รู้จักแสวงหาและเลือกใช้ข้อมูลข่าวสาร
ความรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพครู รวมทั้งมีความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับครูและวิชาชีพครู
๒๐๐ ๑๐๒ ภาษาและวัฒนธรรม ๓ (๒-๒-๕)
(Language and Culture)
ความส าคัญของภาษาและวัฒนธรรม ภาษาไทยและภาษาบาลีเพื่อการเป็นครู
ภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมที่ส่งผลกระทบต่อสังคมปัจจุบันและ
การด าเนินชีวิต การยอมรับและการอดทนต่อความแตกต่างและความหลากหลายของวัฒนธรรม การใช้ภาษา
และวัฒนธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนภาษาไทยและ
ภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อความหมายอย่างถูกต้อง
๒๐๐ ๒๐๓ ปรัชญาและจริยธรรมทางการศึกษา ๓ (๓-๐-๖)
(Philosophy and Ethics in Education)
ปรัชญา แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ศาสนา เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
และการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาสถานศึกษา พุทธปรัชญา หลักจริยธรรม และหลักการศึกษาในพระพุทธศาสนา
คุณธรรมและจริยธรรมของวิชาชีพทางการศึกษา วิเคราะห์ทฤษฎีการศึกษาและทฤษฎีทางจริยธรรม
ที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาในประเทศตะวันตกและประเทศไทย กลวิธีการจัดการศึกษาตามแนวปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างจริยธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน