Page 99 - คู่มือนิสิต ปีการศึกษา 2563
P. 99
88 | คู่มือนิสิตระดับปริญญาตรี วิทยาลัยสงฆ์ขอนแก่น
๘๘ คู่มือนิสิตระดับปริญญาตรี วิทยาลัยสงฆ์ขอนแก่น
หมวดวิชาเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า ๑๔๘ หน่วยกิต
วิชากลุ่มพระพุทธศาสนา ไม่น้อยกว่า ๒๔ หน่วยกิต
ในหมวดรายวิชาดังกล่าว ใช้ค าอธิบายรายวิชาเหมือนกับหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิขา
พระพุทธศาสนา
หมวดวิชาชีพครู ไม่น้อยกว่า ๔๖ หน่วยกิต
วิชาบังคับ ๓๐ หน่วยกิต
๒๐๐ ๑๐๑ ความเป็นครูวิชาชีพ ๓ (๓-๐-๖)
(Professional Teacher)
พัฒนาการของวิชาชีพครู สภาพงานครู คุณลักษณะของครูในศตวรรษที่ ๒๑ มาตรฐาน
วิชาชีพครู การพัฒนาครูให้มีความรอบรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนและกลยุทธ์การสอน ยึดหลักธรรมาภิบาลและ
ความซื่อสัตย์สุจริต มีจิตวิญญาณความเป็นครู จิตส านึกสาธารณะ และเสียสละให้สังคม ปฏิบัติตนเป็น
แบบอย่างที่ดีตามจรรยาบรรณของวิชาชีพครู สามารถจัดการความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพครู สร้างความก้าวหน้า
และพัฒนาวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่อง มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับผู้เรียน รู้จักแสวงหาและเลือกใช้ข้อมูล
ข่าวสารความรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพครู รวมทั้งมีความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับครูและวิชาชีพครู
๒๐๐ ๑๐๒ ภาษาและวัฒนธรรม ๓ (๒-๒-๕)
(Language and Culture)
ความส าคัญของภาษาและวัฒนธรรม ภาษาไทยและภาษาบาลีเพื่อการเป็นครู
ภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมที่ส่งผลกระทบต่อสังคมปัจจุบันและ
การด าเนินชีวิต การยอมรับและการอดทนต่อความแตกต่างและความหลากหลายของวัฒนธรรม การใช้ภาษา
และวัฒนธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนภาษาไทยและ
ภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อความหมายอย่างถูกต้อง
๒๐๐ ๒๐๓ ปรัชญาและจริยธรรมทางการศึกษา ๓ (๓-๐-๖)
(Philosophy and Ethics in Education)
ปรัชญา แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ศาสนา เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
และการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาสถานศึกษา พุทธปรัชญา หลักจริยธรรม และหลักการศึกษาในพระพุทธศาสนา
คุณธรรมและจริยธรรมของวิชาชีพทางการศึกษา วิเคราะห์ทฤษฎีการศึกษาและทฤษฎีทางจริยธรรมที่มีอิทธิพล
ต่อการจัดการศึกษาในประเทศตะวันตกและประเทศไทย กลวิธีการจัดการศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียงเพื่อเสริมสร้างจริยธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน
๒๐๐ ๒๐๔ จิตวิทยาพัฒนาการและการเรียนรู้ของมนุษย์ ๒ (๒-๐-๔)
(Developmental Psychology and Human Learning)
หลักพัฒนาการของมนุษย์ ทฤษฎีพัฒนาการ พัฒนาการทางกาย สังคม จิตใจ และการรู้คิด
จากวัยแรกเกิดจนถึงวัยรุ่น ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ ธรรมชาติของสมอง การเรียนรู้และ
กระบวนการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนรู้ (Learning Styles) การใช้หลักการทางจิตวิทยาเพื่อ
ส่งเสริมการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาของเด็กที่เรียนหนังสือไม่ได้ บทบาทของครูและโรงเรียนต่อการพัฒนาสมอง
และการเรียนรู้
๒๐๐ ๒๐๕ จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๒ (๑-๒-๓)
(Educational Psychology and Guidance)
แนวคิด หลักการ และทฤษฎีทางจิตวิทยาพื้นฐานและจิตวิทยาการศึกษา ความแตกต่าง
ระหว่างบุคคล การคิด เชาวน์ปัญญา ความถนัด การสร้างแรงจูงใจ บุคลิกภาพและการปรับตัว การแนะแนวใน
สถานศึกษา ฝึกการใช้กระบวนการทางจิตวิทยาและการแนะแนวเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เต็ม
ศักยภาพ การให้ค าปรึกษาเพื่อช่วยเหลือผู้เรียนให้รู้จักและเข้าใจตนเอง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น