Page 61 - คู่มือบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2563
P. 61

52  | คู่มือนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยสงฆ์ขอนแก่น

                  ๕๒                                               คู่มือนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยสงฆ์ขอนแก่น



                             พระพรหมบัณฑิต, ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ

                  ราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ – ๒๕๖๑ ได้แสดงทรรศนะไว้ในการแสดงปาฐกถา


                  ธรรมเฉลิมพระเกียรติเรื่อง “พระพุทธศาสนาและวิทยายาศาสตร์ : สร้างสรรค์

                  วัฒนธรรมแห่งปัญญา” ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อ พ.ศ.

                  ๒๕๕๒ ไว้ดังต่อไปนี้

                         “พระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ต่างเป็นองค์ประกอบที่ส าคัญของ

                  วัฒนธรรม ชาวพุทธเปรียบเทียบคนที่มีความรู้ทั้งสองด้านเหมือนคนที่มีดวงตา

                  สองข้าง (ทวิจักขุ) ดวงตาข้างหนึ่งคือความรู้ด้านศาสนา ส่วนดวงตาอีกข้างหนึ่ง

                  คือความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และความรู้ที่จ าเป็นต่อการประกอบอาชีพ คนที่มี

                  ความรู้ทั้งสองด้านเช่นนี้จัดเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์”

                           “การที่คนคนเดียวจะมีความรู้ทั้งด้านพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์


                  เช่นนี้เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ไม่ยาก ทั้งนี้เพราะปัญญาในพระพุทธศาสนาและ

                  ปัญญาในวิทยาศาสตร์ไม่ได้ขัดแย้งกันหากแต่ส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน

                  ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “นาห  ภิกฺขเว โลเกน วิวทามิ” เป็นต้น แปลความ

                  ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตย่อมไม่ขัดแย้งกับชาวโลก แต่ชาวโลกย่อม

                  ขัดแย้งกับเรา ธรรมวาทีย่อมไม่ขัดแย้งกับใครๆ ในโลก”

                         ธรรมวาทีคือคนที่ศึกษาธรรมและประกาศธรรม ค าว่าธรรมหมายถึงความ

                  จริงตามธรรมชาติที่มีอยู่เองโดยไม่มีการแต่งเติมเสริมต่อ ค าว่าปัญญาใน

                  พระพุทธศาสนาหมายถึงการรู้เห็นความจริงในธรรมชาติตามที่เป็นจริง

                  (ยถาภูตญาณทัสสนะ) สัจธรรมความจริงในธรรมชาติที่มีการค้นพบไม่ว่าจะโดย


                  นักศาสนาหรือนักวิทยาศาสตร์ก็ย่อมเป็นสัจธรรมอยู่วันยังค่ า เหมือนกับทอง

                  ย่อมเป็นทองตลอดเวลา

                         แม้พระพุทธศาสนาได้ค้นพบสัจธรรมความจริงในธรรมชาติแล้ว

                  พระพุทธศาสนาก็ไม่มีการผูกขาดสัจธรรมความจริงนั้นว่ามีเฉพาะใน

                  พระพุทธศาสนา ชาวพุทธสามารถยอมรับความจริงในธรรมชาติที่

                  นักวิทยาศาสตร์ต่างทยอยกันค้นพบภายหลังการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า”
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66